ร้านของเรา

จ.สมุทรสาคร

เปิดบริการ

วันจันทร์-เสาร์ 8:00 น. – 17:00 น.

ผ้าเบรค

ผ้าเบรค

ผ้าเบรค มีคุณภาพสูง

ผ้าเบรค การเลือกผ้าเบรกให้เหมาะกับรถคุณ สำคัญมากนะครับสำหรับการเลือกผ้าเบรกให้เหมาะสมกับการใช้งานกับรถของคุณ เพราะหากรถของคุณแค่ขับใช้งานธรรมดา ก็ให้เลือกผ้าเบรกชนิดที่เป็นแบบเดียวกันกับของเดิมโรงงาน เพราะมันได้ถูกคำนวณเรื่องการใช้งานมาแล้ว แต่ถ้ารถของคุณแต่งซิ่ง มีกำลังเครื่องยนต์มากขึ้น ก็ควรที่จะเลือกใช้ผ้าเบรกที่มีคุณภาพสูงไปเลย เนื่องจากเบรกธรรมดาอาจเอาไม่อยู่ เมื่อคุณขับขี่ด้วยความเร็วสูง

รู้จักวัสดุผ้าเบรก เข้าใจเบรกได้มากขึ้น

ผ้าเบรกจัดเป็นวัสดุเสียดทาน (Friction Material) มีหน้าที่สร้างแรงเสียดทานกับจานเบรก เพื่อทำให้ล้อหยุดหมุน ซึ่งวัสดุในผ้าเบรกประกอบไปด้วยวัสดุหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นวัสดุจากธรรมชาติ และวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้น โดยวัสดุแต่ละชนิดทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักในผ้าเบรก (Fiber) ทำหน้าที่ร้อยเรียงวัสดุชนิดต่างๆ ในผ้าเบรกเข้าด้วยกัน (Binder) เป็นต้น โดยวัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างหลักในผ้าเบรกที่เป็นที่นิยมในอดีต และในปัจจุบันก็ยังคงใช้อยู่ในประเทศไทยคือ แร่ใยหิน (Asbestos) เนื่องจากแร่ใยหินมีคุณสมบัติที่ทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกสูงและมีราคาถูก แต่ในขณะเดียวกัน มีการวิจัยพบว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หากได้รับการสะสมในปริมาณมาก อาจมีความเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

ผ้าเบรกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ตามแผนผังด้านล่าง

1. ผ้าเบรกประเภท Semi – metallic
ผ้าเบรกประเภท Semi – metallic มีโครงสร้างหลักเป็นวัสดุประเภทโลหะจำพวกเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งมีปริมาณมากถึง 30 – 65% โดยน้ำหนัก ทำให้มีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องของความแข็งแรง การระบายความร้อน และความสามารถในการยึดจับกับจานเบรก ส่งผลให้ผ้าเบรกมีความทนทาน มีอายุการใช้งานสูง มีประสิทธิภาพในการเบรกที่ดีเยี่ยม ณ สภาวะอุณหภูมิสูง และยังสามารถช่วยลดปัญหาการเฟด หรือการเบรกไม่อยู่ แต่คุณสมบัติความแข็งแรงก็มีข้อจำกัดที่ทำให้เกิดอัตราการกินจานสูง รวมถึงการเกิดเสียงดังรบกวนและมีปริมาณฝุ่นดำที่ติดล้อเยอะขึ้น

ด้วยความทนทาน และอายุการใช้งานสูง ผ้าเบรกประเภท Semi – metallic จึงเหมาะกับการใช้งานหนักไม่ว่าจะเบรกหนัก บรรทุกหนัก หรือรถเชิงพาณิชย์

2. ผ้าเบรกประเภท Low – metallic
ผ้าเบรกประเภท Low – metallic เป็นการผสมระหว่างโครงสร้างหลักที่เป็นวัสดุอินทรีย์จำพวกเส้นใยอะรามิด ใยแก้ว ยาง และวัสดุประเภทโลหะในสัดส่วน 10 – 30% โดยน้ำหนัก เช่น เหล็ก เหล็กกล้า ทองแดง รวมถึงมีการเพิ่มผงขัด (Abrasive) ซึ่งมีคุณสมบัติในการเพิ่มสัมประสิทธิ์การเสียดทานของผ้าเบรก ทำให้ผ้าเบรกประเภท Low – metallic มีประสิทธิภาพการเบรกที่ดีกว่าผ้าเบรกประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดีจากการมีส่วนผสมของโลหะ จึงมีประสิทธิภาพในการเบรกที่ดีเยี่ยม

ด้วยประสิทธิภาพในการเบรกของผ้าเบรกประเภท Low – metallic ที่กล่าวไปข้างต้น ผ้าเบรกประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประสิทธิภาพในการเบรกที่ดีขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูง รวมถึงเหมาะกับผู้ใช้รถยุโรปที่ต้องการผ้าเบรกที่ตอบรับสมรรถนะการขับขี่สูง

3. ผ้าเบรกประเภท NAO (Non – Asbestos Organic)
ผ้าเบรกประเภท NAO หรือผ้าเบรกประเภท Ceramic มีวัสดุประเภทอินทรีย์เป็นโครงสร้างหลัก เช่น เส้นใยอะรามิด ใยแก้ว ยาง ซึ่งวัสดุอินทรีย์ต่างๆเหล่านี้ ไม่ทนต่อความร้อน ทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลง เมื่อต้องเผชิญกับสภาวะอุณหภูมิการเบรกสูงๆ จึงมีการเพิ่มวัสดุประเภทโลหะอ่อน (Non – ferrous metals) ในปริมาณเล็กน้อยในสัดส่วนที่น้อยกว่า 10% โดยน้ำหนัก เช่น ทองแดง โลหะผสม เพื่อทำให้ผ้าเบรกประเภท NAO สามารถทนความร้อนได้ดีขึ้น และเนื่องจากวัสดุอินทรีย์เหล่านี้มีลักษณะทางกายภาพค่อนข้างนุ่มและยืดหยุ่น (High Compressibility) จึงลดความรุนแรงของการเสียดสีระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรกประเภทอื่น ส่งผลให้มีอัตราการกินจานค่อนข้างน้อย อัตราการเกิดฝุ่นค่อนข้างต่ำ ลดเสียงรบกวนจากการเบรกได้ดี

สำหรับผ้าเบรกที่มีขายอยู่ในตลาดบ้านเรา ปัจจุบันมีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้

  1. ผ้าเบรก ในกลุ่มที่ เนื้อผ้าเบรก มี ส่วนผสมของสาร Asbestos (กลุ่มผ้าเบรก Standart)
  2. ผ้าเบรก ในกลุ่มที่ เนื้อผ้าเบรก ไม่มี สวนผสมของสาร ?Asbestos (กลุ่มผ้าเบรก Semi-metallic)
  3. Metallic แบบอัดขึ้นบล็อคด้วยผงเหล็ก มีประสิทธิภาพการใช้งานสูง สามารถทนความร้อนได้ดี มีความไวเมื่อเหยียบเบรกแบบกระทันหัน แต่อาจมีเสียงดังเมื่อใช้งาน และทำให้จานเบรกสึกไวกว่าปกติ
  4. Semi-metallic ส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นโลหะ แม้จะทำมาจากโลหะเป็นส่วนใหญ่ แต่มันสามารถระบายความร้อนได้เร็วมาก แต่ก็ยังทนความร้อนได้ไม่ดีเท่าแบบที่ 3 แถมยังมีเสียงดังขณะเหยียบเบรกอีกด้วย
ควรเปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อใด

ควรเปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อใด โดยทั่วไปเค้าจะกำหนดให้ตรวจสอบผ้าเบรกกันทุก 3 เดือนหรือประมาณ 5,000 กม.ซึ่งถ้าทำได้มันจะเป็นการดี ส่วนอายุ การใช้ งานของผ้าเบรกนั้น ตอบยากว่ามันจะอยู่กับตัวแปรหลายต่อหลายอย่าง เช่นชนิดหรือคุณภาพของผ้าเบรก น้ำหนักรถ หรือ การใช้งาน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถ พวกรถรุ่นใหม่ที่มีค่าตัวค่อนข้างสูง เค้ามักจะมี ระบบไฟ เตือนเบรก (Wear Indica- tor) อยู่บนแผงหน้าปัทม์ ถ้าไฟเตือนนี้ติดโชว์แสดงว่ามีปัญหากับระบบเบรก อาจเป็นที่น้ำมันเบรกมีน้อยกว่า ระดับที่ เหมาะสม หรือผ้าเบรกสึก เหลือบางกว่าที่ควร สำหรับรถบางประเภทอย่างเช่นพวกรถกระบะ จะนิยมใช้การเตือนด้วยเสียงแทน เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจาก ตัวเหล็กที่ยึดติดกับแผ่น ดิสค์เบรกขูดไปบนขอบของจานเบรค เป็นการเตือนว่าผ้าเบรกมีความหนาน้อยกว่า 3 มม. สมควรที่จะรีบ เปลี่ยนได้แล้ว ส่วนพวกรถรุ่นเก่าๆ บางรุ่นที่ไม่มีสัญญาณเตือนอะไรเลย ถ้าเกิดเสียงดังตอน เบรกขึ้นมา เมื่อไร ก็หมายความว่าผ้าเบรก สึกหมดจนถึงแผ่นเหล็กซะแล้ว และแน่นอนว่า มันย่อมสร้างความ เสียหาย ให้ กับจานดิสค์เบรกได้ บางทีถึงกับต้องเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เลยก็มี

  • เหยียบเบรคแล้วรถไม่หยุด ต้องเหยียบเบรคซ้ำๆ หรือเหยียบเบรคให้ลึกกว่าเดิม
  • เมื่อเหยียบเบรคแล้วรถยนต์หยุดช้ากว่าเดิม
  • สำหรับเบรคหลังตอนจอดรถจะต้องดึงเบรคมือสูงกว่าปกติ
  • รถบางรุ่งจะมีสัญลักษณ์ไอค่อนแจ้งเตือนผ้าเบรกใกล้หมดบนแผงคอนโซล
  • ได้ยินเสียงหวีดเวลาแตะเบรค พวงมาลัยสั่น หรือได้กลิ่นไหม้ เวลาเหยียบเบรค
นอกจากผ้าเบรกรถยนต์จะมีหลายประเภทแล้ว ผ้าเบรกยังแบ่งเป็นหลายเกรดอีกด้วย
  1. ผ้าเบรกรถยนต์เกรดมาตรฐาน (S-Standard) : เนื้อผ้าเบรกจะมีความนิ่ม สร้างความฝืดได้ง่ายไม่ต้องอุ่นผ้าเบรกก่อน สามารถลดความเร็วได้ทันที เหมาะหรับใช้งานในรถยนต์ทั่วไป รถยนต์ที่ใช้ความเร็วไม่มาก
  2. ผ้าเบรกรถยนต์เกรดกลาง (M-Medium-Metal) : เนื้อผ้าเบรก มีส่วนผสมของโลหะอ่อน มีความแข็งปานกลาง ทนทานต่อความร้อนสะสมในการเบรคสูงขึ้นกว่า
  3. เกรดผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน ไม่ต้องอุ่น ผ้าเบรก ก่อน เหมาะสำหรับใช้งานในรถยนต์ที่ใช้ความเร็วระดับปานกลาง
  4. ผ้าเบรกรถยนต์เกรดกึ่งแข่ง (R-Racing) : เนื้อผ้าเบรกมีการผสมของผงเนื้อโลหะในปริมาณสูง ต้องทำการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน เหมาะสำหรับใช้งานในรถยนต์ที่สมรรถนะสูง ใช้ความเร็วสูง มีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรคถี่ๆ เช่น รถแข่ง รถซุปเปอร์คาร์
สรุป ผ้าเบรค

ในเมืองไทยมีร้านเปลี่ยนผ้าเบรกที่น่าเชื่อถือหลายแห่ง หากแบรนด์ดัง ๆ หน่อยก็จะเป็น Cockpit, B-quik, Bridgestone เป็นต้น หรือคุณสามารถเปลี่ยนกับอู่ซ่อมทั่วไปได้เช่นกัน โดยราคาเปลี่ยนผ้าเบรกจะขึ้นกับประเภทของผ้าเบรกรวมถึงค่าบริการของร้านผู้ให้บริการ โดยศูนย์บริการหรือคาร์แคร์ชั้นนำจะคิดราคาเปลี่ยนผ้าเบรครถยนต์ที่ประมาณ 1,000 -2,000 บาท ส่วนของรถกระบะจะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท แต่ถ้าคุณเลือกเปลี่ยนกับอู่ซ่อมราคาก็จะถูกกว่า โดยบางอู่อาจคิดราคาคุณเพียงแค่หลักร้อยเท่านั้น แต่ผ้าเบรกอาจคุณภาพไม่ดีเท่ากับการเลือกเปลี่ยนที่ศูนย์บริการ รวมถึงถ้าคุณเลือกอู่ไม่ดีก็อาจโดนย้อมแมวได้ ดังนั้นควรศึกษารีวิวและเลือกใช้บริการอู่ที่ไว้วางใจได้ หรือจะให้มั่นใจยิ่งขึ้นก็เลือกเปลี่ยนผ้าเบรครถยนต์กับศูนย์บริการหรือคาร์แคร์ไปเลยดีกว่า

ติดตามข่าวสาร หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

เรื่องน่ารู้อื่นๆ