ผ้าเบรคหลัง ออกแบบมาเพื่อความปลอดภัย
ผ้าเบรคหลัง ระบบเบรคในรถยนต์ถูกออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ โดยออกแบบระบบเบรคให้ล้อหน้ามีประสิทธิภาพการเบรคสูงกว่าระบบเบรคล้อหลังเพื่อรักษาความสมดุลและการทรงตัวของรถในขณะเบรค ทำให้ระบบเบรคล้อหน้าของรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้ระบบดิสก์เบรค(Disc Brake) ที่มีประสิทธิภาพสูงและระบบเบรคในล้อหลังเป็นระบบดรัมเบรค (Drum Brake) หนึ่งในชิ้นส่วนสำคัญในระบบเบรคทั้งระบบดิสก์เบรคและดรัมเบรค คือผ้าเบรคซึ่งในระบบดิสก์เบรคจะมีลักษณะเป็นแผ่นเรียกว่า ผ้าดิสก์เบรค (Disc Brake Pads) และในระบบดรัมเบรคจะมีลักษณะเหมือนก้ามปูเรียกว่า ผ้าดรัมเบรคหรือก้ามเบรค (Brake Shoes Assembly)
ระบบดรัมเบรค
ระบบดรัมเบรคในล้อหลังจะทำหน้าที่หลักในการลดภาระของระบบดิสก์เบรคในล้อหน้าและจะมีบทบาทมากขึ้นเมื่อมีการบรรทุกน้ำหนักที่มากขึ้น โครงสร้างก้ามเบรคที่แข็งแรงและผ้าเบรคที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ระบบดรัมเบรคทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้ก้ามเบรคที่มีคุณภาพสูงจะทำให้ลดภาระการเบรคที่ล้อหน้าได้มาก ระบบเบรคเกิดความสมดุลมีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งลดการสึกหรอของผ้าดิสก์เบรคหน้า ผู้ใช้รถหลายท่านมักเมินเฉยหรือไม่ใส่ใจกับระบบเบรคหลังเท่าเบรคหน้ามากนัก ในความเป็นจริงก้ามเบรคเป็นชิ้นส่วนด้านความปลอดภัยที่มีความสำคัญมากชิ้นหนึ่ง ราวร้อยละ 80 ของแรงเบรคทั้งหมดของรถยนต์จะถูกส่งถ่ายไปยังพื้นถนนด้วยเพลาหน้า แต่ในสถานการณ์วิกฤติเพลาหลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญโดยช่วยให้การเบรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ระบบเบรกในรถยนต์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- ดรัมเบรก ประกอบด้วยตัวดรัมเป็นโลหะวงกลมติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรกที่ประกอบด้วยผ้าเบรก กลไกปรับแต่งเบรก สปริงดึงกลับ ลูกสูบน้ำมันเบรก โดยสายน้ำมันเบรกจะเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบในการดันผ้าเบรกให้ไปเสียดทางกับดรัมเพื่อให้เกิดความฝืด เพื่อชะลอความเร็วรถ ส่วนใหญ่ใช้ในรถบรรทุก รวมถึงรถยนต์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะใช้เฉพาะล้อหลัง จุดเด่น คือ หยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรกและดรัมเบรกถูกยึดติดกับดุมล้อ เหมาะกับรถยนต์ที่บรรทุกน้ำหนักมาก
จุดด้อย คือ ผ้าดรัมเบรกถ่ายเทความร้อนและระบายน้ำได้ไม่ดีเท่าชุดดิสก์เบรก - ดิสก์เบรก ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ คาลิปเปอร์หรือก้ามปูเบรก ผ้าเบรก ลูกปั๊มน้ำมันเบรก ระบบจะทำงานโดยดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรก เพื่อให้เกิดความฝืด ทำให้รถหยุด รถบางรุ่นใช้ดิสเบรกทั้ง 4 ล้อ รถยนต์บางรุ่นใช้เพียง 2 ล้อหน้า จุดเด่น คือ สามารถถ่ายเทความร้อนและไล่น้ำออกจากระบบเบรก ได้ดีกว่าดรัมเบรก ทำความสะอาดและบำรุงรักษาง่าย ตอบสนองทันที มีความแม่นยำในการเบรกสูง
จุดด้อย คือ ราคาสูงกว่าดรัมเบรก พละกำลังในการเบรกน้อยกว่าแบบดรัมเบรก และผ้าเบรกหมดเร็วกว่า
ระบบดรัมเบรกทำงานอย่างไร
การทำงานของเบรกชนิดนี้จะเริ่มจากที่ เมื่อคุณเหยียบเบรก ตัวระบบไฮดรอลิค จะส่งพลังงานไปยังปั๊มที่อยู่ด้านหลังของตัวดรัมที่เป็นฝาครอบอีกที เพื่อให้ปั๊มนั้น ดันผ้าเบรกที่เป็นก้ามปูทั้งสองด้าน เข้าไปจับกับฝาครอบเบรกให้ดันไปติดล้อ เพื่อหยุดการชะลอการเคลื่อนไหวลง เมื่อคุณปล่อยเบรกแล้ว ตัวสปริงและลวดจะเป็นตัวที่ช่วยดึงให้ผ้าเบรกกลับมาที่เดิม เพิ่มประสิทธิภาพในการขยับล้อได้ดีขึ้น หากคุณต้องการออกตัวในทันที เช่นเดียวกันกับ การดึงเบรกมือขึ้น ตัวฟันเฟืองที่เป็นตัวครอบลวดจะถูกหมุนออกให้ ลวดขยายตัวดันผ้าเบรกไปชิดฝาครอบมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ล้อมีการล็อกเกิดขึ้น
ผ้าเบรค หลัง ก้ามเบรค TRW
ด้วยความชำนาญที่เหนือกว่า รวมถึงความเชี่ยวชาญในด้านเทคนิค บวกประสบการณ์ในระบบความปลอดภัย ในรถยนต์ ของเรา ทำให้ก้ามเบรกของ TRW ตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยให้กับลูกค้าของคุณได้ดีที่สุด เราทำทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าส่วนประกอบเบรกทุกชิ้น ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมและยาวนาน
TRW คือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ก้ามเบรก , ชุดติดตั้งและอุปกรณ์เสริม เรามีเบอร์ครอบคลุมรถมากที่สุดใน ยุโรป ทำให้คุณสามารถให้บริการรุ่นรถได้จำนวนมากและหลากหลาย ไว้วางใจได้ว่าก้ามเบรก TRW สามารถติดตั้งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไร้เสียงรบกวน และสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือให้ความปลอดภัยทุกการขับขี่
ด้วยฝักเบรกจาก TRW Aftermarket เราสามารถการันตีได้
- การผลิตของเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากโครเมี่ยม 6 ไม่ใช้โลหะหนักและแร่ใยหิน
- เบอร์ครอบคลุมครบถ้วนในยุโรป เรามีจำนวนเบอร์ฝักเบรกมากกว่า 420 รายการ ครอบคลุมรุ่นรถจำนวนมาก
- เรามีชุดติดตั้งฝักเบรกมากกว่า 300 รายการ ที่จะทำให้คุณสามารถติดตั้งได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทุกครั้ง
- ผ้าเบรกทั้งหมดได้ผ่านการรับรองว่ามีสเปคตามมาตรฐานอะไหล่แท้ของ TRW
ดรัมเบรก กับ ดิสเบรก แตกต่างกันอย่างไร
ดรัมเบรก (Drum Brake) ดรัมเบรกจะติดตั้งแน่นกับลูกล้อ เบรกจะทำงานเมื่อมีการถ่างก้ามเบรกให้เสียดสีกับตัวเบรก ดรัมเบรกจะทำให้ล้อหยุด ดรัมเบรกใช้มากในรถบรรทุก ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก รวมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลบางรุ่น รถบางรุ่นอาจใช้ระบบนี้เฉพาะล้อหลัง
- ข้อดี หยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรกและดรัมเบรกถูกยึดติดกับดุมล้อ เมื่อเหยียบเบรก คนขับใช้แรงกดดัน
- ข้อเสีย ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี ระหว่างผ้าเบรกในดรัมเบรกนั้นถ่ายเทความร้อนได้ยาก ในบางครั้งผ้าเบรกมีอุณหภูมิสูงมาก มีผลทำให้ประสิทธิภาพการเบรกด้อยลง
ดิสก์เบรก (Disc Brake)
เป็นระบบเบรกที่มีมาทีหลังดรัมเบรก เบรกจะทำงานโดยดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรกเพื่อให้รถหยุด ซึ่งจะมีแบบดิสก์เบรก 4 ล้อ บางรุ่นก็เฉพาะล้อหน้า
- ข้อดี อากาศถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรก และถ้าเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะไล่น้ำออกจากระบบได้ดี ต่างจากดรัมเบรกน้ำจะขังอยู่ภายใน และไล่ออกยาก
- ข้อเสีย ไม่มี ระบบมัลติพลายอิ้ง แอ๊กชั่น เหมือนกับดรัมเบรก ผู้ขับทำให้ออกแรงมากกว่าในการเหยียบเบรก เพื่อลบขีดจำกัดเลยต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง ผ่อนแรงขณะเหยียบเบรก เลยทำให้ดิสก์เบรกมีราคาแพงกว่าดรัมเบรก
เหยียบเบรกแล้วมีเสียงดัง เกิดจากอะไร
กรณีที่เราเหยียบเบรกแล้วเกิดเสียงดังขึ้น แสดงว่าระบบเบรกมีความผิดปกติ อาจมาจากสาเหตุ ดังนี้
- มีสิ่งแปลกปลอมเกาะที่จานเบรกหรือผ้าเบรก เมื่อรถถูกใช้งาน เช่น วิ่งลุยน้ำ ลุยโคลน อาจทำให้สิ่งสกปรกเข้าไปเกาะในจานเบรกหรือผ้าเบรกได้ อาการดังกล่าวไม่เป็นอันตราย แต่ก่อให้เกิดความรำคาญ หากใช้ไปสักพักยังไม่หาย ควรให้ช่างตรวงจสอบแก้ไข
- ผ้าเบรกหมด ในระบบเบรกเมื่อเราเหยียบเบรกแล้วเกิดเสียงดังอี๊ด ๆ นั้นคือสัญญาณเตือนที่ผู้ผลิตออกแบบมาให้ผู้ขับขี่ทราบว่าผ้าเบรกใกล้จะหมดแล้ว ควรรีบนำรถเข้ารับบริการเพื่อเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ หากปล่อยไว้นานจนผ้าเบรกหมด นอกจากจะทำให้จานเบรกเสียหายไปด้วย หรือทำให้รถเบรกไม่อยู่จนอาจเกิดอุบัติเหตุ
- จานเบรกเป็นร่อง จานเบรกเมื่อผ่านการใช้งานมาได้สักระยะ ผิวหน้าสัมผัสจะเกิดการเสียดสีกับผ้าเบรกจนเกิดการสึก เป็นร่อง และเมื่อหน้าสัมผัสของจานเบรกไม่สม่ำเสมอ เวลาเหยียบเบรกผ้าเบรกจะจับกับจานที่ไม่เรียบก็จะส่งเสียงดัง วิธีแก้ไขควรเจียรจานเบรกเมื่อมีรอยเหล่านั้นมากผิดปกติ
- เสียงจากการลุยน้ำ หลังจากที่เราขับรถลุยน้ำ หรือหลังล้างรถใหม่ ๆ คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังขณะที่เราเหยียบเบรก เพราะผ้าเบรกอาจเปียกหรือเลอะน้ำต่าง ๆ วิธีแก้แค่ย้ำเบรกแบบถี่ ๆ 2-3 ครั้ง เพื่อไล่ความชื้นออกจากผ้าเบรก เสียงดังก็จะค่อย ๆ ลดหายไปเอง
การบำรุงและซ่อมแซม
เนื่องจาก ก้ามเบรค ผ้าเบรคหลัง อยู่ด้านในทำให้สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ดี แต่ดรัมเบรคเป็นระบบที่ซับซ้อนกว่าดิสก์เบรคทำให้เปลี่ยน ก้ามเบรค ได้ยากและใช้เวลานานกว่า ผ้าเบรค ในขณะที่ความเปราะบางของ ผ้าเบรค อาจทำให้เกิดการสึกกร่อนได้ง่าย แต่สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมแซมได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ผ้าเบรค และก้ามเบรคไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสึกหรอได้ โดยทั่วไปแล้ว ผ้าเบรค จะเข้าถึงได้ง่าย และ เร็วกว่า ในการซ่อมแซมเบรค ในขณะที่ก้ามเบรค เข้าถึงยาก การซ่อมเบรคอาจใช้เวลานานกว่ามาก ก้ามเบรคอาจต้องมีการปรับแต่งเพิ่มเติมเนื่องจากเบรคสึกหรอ และเพื่อให้แน่ใจว่าก้ามเบรคสัมผัสกับดรัมอย่างเหมาะสม
ควรเปลี่ยน ก้ามเบรค เมื่อใด ก้ามเบรค บางรุ่นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน แต่ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับขี่ สภาพถนน และ สภาพอากาศ ซึ่งล้วนส่งผลต่ออายุการใช้งานของส่วนประกอบ เบรค ไม่ว่าคุณจะมีดิสก์เบรค ดรัมเบรค หรือทั้งสองอย่างก็ตาม เช่นเดียวกับ ผ้าเบรค ที่ต้องเปลี่ยนก้ามเบรคเพื่อหลักเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับระบบเบรค ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบเบรคเสียหายได้
สรุป ผ้าเบรคหลัง
สำหรับใครที่คิดว่าการดูแลรถยนต์เป็นเรื่องยาก แนะนำว่า ให้ทุกคนขยันนำรถเข้าไปเช็คระยะที่ศูนย์ตามเวลาที่กำหนดอย่างตรงเวลาจะดีที่สุด เพราะผ้าเบรกควรได้รับการเปลี่ยนและเช็คอยู่ทุกปี เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ ผ้าเบรก ไหม้ หรือ บางจนหมด นั่นอาจหมายถึงอุบัติเหตุที่จะตามมาได้จากการเบรกไม่อยู่ค่ะ การเปลี่ยนดรัมเบรกหรือจานเบรกเอง หากไม่ให้ทางศูนย์เปลี่ยนให้ ก็ให้ทางอู่ซ่อมผู้ชี่ยวชาญเป็นคนดูแลให้ก็ได้ค่ะ