ผ้าเบรคหน้า ปลอดภัยทุกเส้นทาง
ผ้าเบรคหน้า ผ้าเบรค MKC เบรคปลอดภัยทุกเส้นทาง เบรก Bendix เบ็นดิกซ์มีผลิตภัณฑ์สำหรับงานระบบเบรกมากมาย ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ได้รับ การออกแบบและคัดสรรมาเป็นอย่างดี คุณจึงสามารถมั่นใจได้ว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นเลิศ พร้อมที่จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดทันที และส่งมอบความปลอดภัยให้กับยนตรกรรมคันโปรดของคุณ และคนที่คุณรัก สมดั่งสโลแกน ” เบ็นดิกซ์ มั่นใจทุกครั้งที่แตะเบรก
จะเกิดอะไรขึ้นหากผ้าเบรกบางลง
ในทุกครั้งที่คุณเหยียบเบรก ผ้าเบรกก็จะถูกใช้งานไป เมื่อเวลาผ่านไปการเสื่อมสภาพก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่จำเป็นจะต้องเปลี่ยน และนี่คือสัญญาณบอกว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกแล้ว
- เบรกแล้วมีเสียง เหยียบเบรกแล้วมีเสียง
โดยปกติแล้ว สัญญาณแรกสำหรับผู้ขับขี่ คือการเหยียบเบรกแล้วมีเสียง ถ้าคุณได้ยินบ่อย ๆ ก็น่าจะถึงเวลาที่คุณควรนำรถเข้าตรวจสภาพเบรกได้แล้วขณะระบบเบรกต้องเผชิญกับความชื้น เช่น หลังขับฝ่าพายุฝน มีความเป็นไปได้ที่คราบฝุ่นจะเกาะที่ผ้าเบรกและทำให้เบรกมีเสียงได้ หากเสียงที่เกิดขึ้นหายไปเองหลังจากการเหยียบเบรกสัก 2-3 ครั้ง แสดงว่าเสียงที่เกิดขึ้นนั้นอาจมาจากคราบฝุ่น ไม่ใช่ผ้าเบรกเสื่อม - ผ้าเบรกหมดหรือยังเมื่อเหลือความหนาไม่ถึง 3 มิลิเมตร
โดยสามารถสำรวจได้ด้วยตาเปล่าว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกของคุณแล้วหรือไม่ ถ้าหากผ้าเบรกมีความหนาน้อยกว่า 3 มิลิเมตร แปลว่าผ้าเบรกหมดแล้ว คุณควรนำรถเข้าตรวจสภาพเบรกได้แล้ว - เบรกมีเสียง เหยียบเบรกแล้วมีเสียงเสียดสีกันของโลหะ
หากเบรกมีเสียง เหยียบเบรกแล้วมีเสียงเสียดสีกันของโลหะ อาจจะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าผ้าเบรกหมดหรือเริ่มหมดสภาพ รวมถึงจานเบรก และ เบรกคาลิปเปอร์เสียดสีกัน ซึ่งการที่โลหะสัมผัสโลหะด้วยกัน สามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบเบรกได้อย่างรวดเร็ว
แล้วผ้าเบรกหมดเมื่อไหร่ หรือจะอยู่ได้นานขนาดไหน
โดยปกติผ้าเบรคหน้าหมด ผ้าเบรกจะสามารถใช้งานได้ประมาณ 48,000 – 56,000 กิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตาม คำตอบที่แท้จริงของคำถามที่ว่าผ้าเบรกหมดเมื่อไหร่หรือผ้าเบรกอยู่ได้นานขนาดไหน แตกต่างกันไปตามลักษณะรถยนต์ และการใช้งานของผู้ขับขี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าส่วนใหญ่ผู้ขับขี่อยู่ในเขตเมืองที่มีสภาพจราจรที่แน่นหนา จะต้องเหยียบเบรกบ่อยกว่าผู้ที่ขับในเขตชนบทหรือทางด่วน เป็นต้น
อะไรคือผ้าเบรก
ผ้าเบรกเป็นอะไหล่ที่สำคัญสำหรับระบบเบรกของรถคุณ โดยอุปกรณ์นี้จะอยู่ระหว่างคันขาเบรกกับดรัมเบรก ถ้าผ้าเบรกไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อะไหล่ส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นจานเบรก เบรกคาลิปเปอร์ ก็จะมีอายุการใช้งานที่น้อยลงด้วยเช่นกัน การดูแลรักษาอย่างถูกต้องมีส่วนสำคัญในการหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการเปลี่ยนอะไหล่ที่ไม่จำเป็น รวมถึงอันตรายในการขับขี่ และนั่นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราถึงต้องรู้ว่าเมื่อไหร่สมควรจะเปลี่ยนผ้าเบรก
ผ้าเบรกในกลุ่มที่ เนื้อผ้าเบรก มี ส่วนผสมของสาร Asbestos
เป็นผ้าเบรกที่ใช้งานตามาตรฐานทั่วไป ใช้งานได้ง่ายสะดวก เหมาะกับการใช้งานในรถยนต์ที่ไม่ค่อยได้ใช้ความเร็วสูงมากนัก ผ้าเบรกในกลุ่มนี้ราคาอาจไม่สูงมาก และสามารถทำงานได้ดีในช่วงตั้งแต่ความเร็วต่ำ เบรกจับได้แน่นและค่อนข้างนุ่มนวลและไม่กินหรือทำให้จานเบรกเป็นรอยมากนัก รถบ้าน ใช้งานเดินทางในเมืองไปทำงาน ช้อปปิ้ง ออกต่างจังหวัด นานๆ ครั้ง ในสไตล์นี้ ใช้ผ้าเบรก ในเกรด Standart ที่ไม่มีส่วนผสมของโลหะ ก็เพียงพอแล้วครับ ใช้งานง่ายสะดวก ไม่ต้องรออุณหภูมิที่สูงมาก เบรกก็เริ่มทำงานได้ดีในช่วงต้นๆ แล้วครับ รถแต่งซิ่ง รถโมดิฟาย เครื่องแรงกว่าเดิม เดินทางต่างจังหวัดใช้ความเร็วสูงๆลากยาวๆ กดไม่ยั้ง ในการใช้รถสไตล์นี้ ขยับมาใช้ผ้าเบรกใน กลุ่มผ้าเบรก Semi-metallic ก็ได้ครับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นใจ ความทดทานของการสึกหรอของระยะผ้าเบรกได้อีกระดับหนึ่ง เนื่องจากอาจต้องใช้เบรกเยอะ ความร้อนสะสมเยอะเวลาใช้งาน
ผ้าเบรครถยนต์ มีกี่ประเภท?
ผ้าเบรครถยนต์จะถูกแบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่
- ผ้าเบรก ASBESTOS : เป็นผ้าเบรคที่ทำจากแร่ใยหิน ราคาถูก สร้างแรงเสียดทานได้ดี แต่เมื่อเบรคจะเกิดเขม่าสีขาวๆ อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
- ผ้าเบรก NAO : เป็นผ้าเบรคที่ทำจากใยสังเคราะห์ เช่น เส้นใยเคฟลาร์ เส้นใยเซรามิก ให้แรงเสียดทานสูง น้ำหนักเบา ควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นหรือเสียงได้ง่าย แต่ทนอุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากๆ ได้ไม่ดี
- ผ้าเบรก Semi-Metallic : เป็นผ้าเบรคที่ทำจากใยเหล็ก ทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ดี ปลอดภัยต่อระบบทางเดินหายใจ แต่มีข้อจำกัดในการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงและฝุ่น
- ผ้าเบรก Metallic : เป็นผ้าเบรคที่ทำจากผงเหล็กละเอียด ทนต่ออุณหภูมิการใช้งานได้สูงมาก เนื้อผ้าเบรคจะหมดช้า
- ผ้าเบรก Advance Material : เป็นผ้าเบรคที่ผลิตเทคโนโลยีชั้นสูง มีคุณลักษณะพิเศษต่างๆ ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรคนิ่มสร้างความฝืดได้ง่าย สามารถลดความเร็วได้ทันที ระยะเบรคสั้นลง ฝุ่นน้อย ไม่มีเสียง
เกรดผ้าเบรก
- เกรดมาตรฐาน (S-Standard) ใช้กับรถยนต์ทั่วไป ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรกนิ่ม สร้างความฝืดได้ง่าย สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรก ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรกเกรดนี้ เพราะส่วนใหญ่มีการใช้ความเร็วสูงนัก ซึ่งนับว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง
- เกรดกลาง (M-Medium-Metal) ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้องสูงได้ดี มีความแข็งปานกลาง สามารถรองรับการเบรกในช่วงความเร็วปานกลาง สูงได้ดี ทนทานต่อความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าเกรดผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งานช่วงความเร็วต่ำ ปานกลางได้ดี ไม่ต้องอุ่นผ้าเบรก แต่มีราคาสูงกว่า ผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน
- เกรดกึ่งแข่ง (R-Racing) เป็นผ้าเบรกเกรดพิเศษ เนื้อของผ้าเบรกมักจะมีการผสมของผงเนื้อโลหะไว้มาก การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำจึงต้องมีการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูง-รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ ๆ และรุนแรงจึงไม่ค่อยเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป
เลือกผ้าเบรครถยนต์อย่างไรให้เหมาะกับรถของเรา?
การเลือกผ้าเบรคที่เหมาะสมนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จะได้ประหยัดเงินและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรถยนต์แต่ละประเภทนั้นก็จะมีวิธีการเลือกผ้าเบรคที่แตกต่างกันดังนี้
- ผ้าเบรครถยนต์สำหรับรถที่ใช้งานทั่วไป
เช่น ขับเดินทางไปทำงาน ใช้งานปกติ แนะนำให้ใช้ผ้าเบรคแบบรุ่นมาตรฐานทั่วไปอย่าง ผ้าเบรค Semi-Metallic หรือ ผ้าเบรค ASBESTOS หรืออาจใช้ผ้าเบรครุ่นเดียวกับที่มากับรถตั้งแต่ออกมาจากโรงงาน ซึ่งทางโรงงานประกอบรถจะเลือกผ้าเลือกที่เหมาะสมกับสมรรถภาพของรถยนต์อยู่แล้ว - ผ้าเบรครถยนต์สำหรับรถแต่งซิ่งทำความเร็วหรือรถสปอร์ต
แนะนำให้ใช้ผ้าเบรคแบบริสซิ่ง หรือผ้าเบรคแบบสปอร์ต อย่าง Advance Material เพื่อประสิทธิภาพในการหยุดรถที่ดีกว่าเดิม สามารถลดความร้อนสะสมขณะเบรคได้เป็นอย่างดี มีความทนทาน เหมาะกับรถที่แล่นด้วยความเร็วและต้องใช้แรงเบรคเยอะ ๆ - ผ้าเบรครถยนต์สำหรับรถตู้/รถกระบะ/รถSUV ที่มีขนาดใหญ่
แนะนำให้ใช้ผ้าเบรคแบบ Semi-metallic เพราะมีความทนทาน สูง เหมาะกับการเบรคบ่อย ๆ สามารถลดความร้อนสะสมจากการใช้งานยาวนานได้
สาเหตุที่ “น้ำมันเบรก” เสื่อมสภาพ
- -ความร้อน อันเนื่องมาจากการเบรกกะทันหัน หรือเบรกบ่อยๆ ภายใต้ความเร็วสูง จะส่งผลให้ “น้ำมันเบรก” ซึมซับความร้อนเอาไว้ หากระบายสู่ส่วนอื่นไม่ทันจนถึงจุดเดือดสูงสุด “น้ำมันเบรก” ก็จะระเหยกลายเป็นไอในกระบอกสูบเบรก ซึ่งในช่วงนี้จะทำให้ไม่มีแรงดันที่จะไปกระทำต่อลูกสูบเบรก ให้ไปดันผ้าเบรก ส่งผลให้เกิดอาการเบรกหาย-เบรกลึก-เบรกไม่อยู่ หรือที่เรียกว่า “เบรกแตก” ดังนั้นจุดเดือดของ “น้ำมันเบรก” จึงมีความสำคัญมาก ต่อประสิทธิภาพระบบเบรก
- -ความชื้น “น้ำมันเบรก” มีคุณสมบัติอันไม่พึงประสงค์ คือเป็นสารที่ดูดซับความชื้นจากอากาศได้ดี แถมยังสามารถผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ และเมื่อความชื้นเข้ามาปะปนอยู่ใน “น้ำมันเบรก” ส่งผลให้มีจุดเดือดลดต่ำลง ยิ่งประเทศไทยจัดเป็นเขตที่มีความชื้นสูง จึงเป็นที่มาของการแนะนำให้เปลี่ยนถ่าย “น้ำมันเบรก” ทุก 1 ปี เพื่อไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรก และยังเป็นการป้องกันการกัดกร่อนจากสนิม ที่เกิดจากความชื้นสะสมในกระบอกสูบเบรก ซึ่งเป็นต้นตอทำให้ลูกยางเบรกเป็นรอยและรั่วในที่สุด
สรุป ผ้าเบรคหน้า
ถ้าต้องการกำลังเบรค ที่ดีที่สุด ในทุกอุณหภูมิ ให้เลือก ใช้แบบซินเทอร์ แต่ต้องแลกมาด้วย ราคาที่สูง สึกเร็ว และกินจาน (ในกรณีที่ไม่ใช่จานเบรคเฉพาะ)
แบบออแกนิค มีราคาถูก ทนทานยาวนาน ไม่กินจานเบรค เหมือนแบบซินเทอร์ แต่กำลังเบรค และการทนความร้อนต่ำ เอาไว้ใส่รถจ่ายกับข้าวดีกว่า ที่อยู่ตรงกลางๆ ก็คือแบบเซรามิค เน้นราคา และอายุการใช้งาน แต่ใช้งานได้ดีการการขับขี่ที่ออกแนวสปอร์ตนิดๆ ก็พอเป็นแนวทางในการเลือก ผ้าเบรค ให้ถูกกับการใช้งาน และงบประมาณ แต่จริงๆ อยากแนะนำว่าอย่าไปงกกับเรื่องความปลอดภัย อย่าเอาแต่แฟชั่น ต้องรู้จริงกับการใช้งานด้วย