ผ้าเบรครถยนต์ อุปกรณ์สำคัญที่คนขับรถห้ามมองข้าม
ผ้าเบรครถยนต์ ผ้าเบรค คือส่วนประกอบของรถยนต์ที่ใช้สำหรับการชะลอ หรือหยุดความเร็วของรถยนต์ ขณะขับรถเมื่อคุณทำการเหยียบเบรค ผ้าเบรคจะทำการดันจานเบรคเพื่อสร้างแรงเสียดทานทำให้ล้อรถเกิดการชะลอตัว จึงทำให้ผ้าเบรคนั้นจะบางลงเรื่อย ๆ หากผ้าเบรคเริ่มบางมาก ๆ จะทำให้การเบรคเริ่มติดขัดมากขึ้น อาจทำให้ต้องออกแรงเหยียบเบรคมากขึ้นในการเบรคแต่ละครั้ง แต่ถ้าหากขับมาด้วยความเร็วมาก ๆ ผ้าเบรคที่บางแล้วก็อาจจะไม่สามารถห้ามล้อได้ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย ในการขับขี่บนท้องถนน ของคุณ เรามาสังเกตอาการต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าผ้าเบรคในรถยนต์ ของคุณถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนโดยด่วน
สังเกตได้อย่างไรว่าควรเปลี่ยนผ้าเบรค
โดยปกติแล้วผ้าเบรคนั้นจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยที่ประมาณ 50,000 – 60,000 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าใช้งานได้ค่อนข้างนานเลยทีเดียว ซึ่งระยะเวลาที่นานนี่แหละที่อาจทำให้หลาย ๆ คนมักจะลืมตรวจสอบกันว่ารถยนต์ของตัวเองใช้งานผ้าเบรคมานานขนาดไหนแล้ว หากจำไม่ได้ว่าผ้าเบรคเราใช้งานมานานขนาดไหน ถ้าอย่างนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าเราจะสังเกตจากสิ่งใดได้บ้างว่ารถยนต์ของตัวเองถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนผ้าเบรค ซึ่งมีวิธีสังเกตด้วยกัน 3 รูปแบบ ตามขั้นตอนนี้!
- สัมผัสของการเบรคไม่เหมือนเดิม อาการที่เห็นได้ชัดที่สุดเมื่อผ้าเบรคใกล้หมดก็คือ ส่งผลกระทบต่อการเบรคโดยตรงนั่นเอง โดยสามารถสังเกตได้จากเสียงผิดปกติขณะเหยียบเบรค เช่น ดังเอี๊ยด ๆ หรือครืด ๆ ซึ่งหมายความว่าผ้าเบรคนั้นเรื่มบางจนเริ่มเหลือเพียงส่วนที่เป็นเหล็กแล้ว หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจทำให้จานเบรคเกิดความเสียหายได้ ควรนำรถเข้าศูนย์แล้วทำการเปลี่ยนผ้าเบรคโดยทันที เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง
- ต้องยกเบรคมือสูงขึ้นกว่าปกติ ปกติแล้วเวลาจอดรถยนต์ไว้กับที่เราก็จะต้องเข้าเกียร์จอด แล้วดึงเบรคมือขึ้น แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าเบรคมือหลวม ๆ จนต้องดึงสูงกว่าปกติ นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ผ้าเบรคของคุณเริ่มบางมากแล้ว ควรเข้าไปทำการเช็คโดยด่วน
- เบรคมือ สังเกตไฟเตือนหน้าคอนโซล รถยนต์หลาย ๆ รุ่นจะมีไฟเตือนหน้าคอนโซลเป็นสัญลักษณ์รูปตัว (P) หากสัญลักษณ์นี้มีไฟขึ้น แสดงว่าระบบเบรคของคุณกำลังมีปัญหาแล้ว โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำมันเบรครั่ว หรือผ้าเบรคเริ่มหมดจนต้องถึงเวลาเปลี่ยน
แต่ไม่ว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดจากอะไร แต่การที่สัญญาณไฟนี้ขึ้นแจ้งเตือนถือว่าระบบเบรคในรถยนต์ของคุณเริ่มมีปัญหา และอันตรายต่อการขับขี่บนท้องถนนค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นหากสังเกตเห็นสัญลักษณ์นี้ ให้รีบนำรถยนต์ไปเข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบจะดีที่สุด
ระบบเบรกและการทำงาน
ขั้นแรกมาทำความรู้จักกับระบบเบรกของรถยนต์กันก่อน ซึ่งปัจจุบันที่ใช้งานกันมากที่สุดมีอยู่ 2 ประเภท คือ ดิสก์เบรกและดรัมเบรก
- ดิสก์เบรก คือ ระบบเบรกที่อยู่ในรถยนต์เกือบทุกยี่ห้ออยู่ที่ว่าจะใช้ดิสก์เบรกแค่ 2 ล้อหน้า หรือทั้ง 4 ล้อ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแบรนด์นั้น ๆ ดิสก์เบรกจะประกอบด้วย จานเบรก, คาลิปเปอร์เบรก และผ้าเบรก ในส่วนของการทำงานทุกครั้งที่เรากดแป้นเบรกน้ำมันไฮดรอลิกในคาลิปเปอร์จะดันผ้าเบรกแต่ละแผ่นเข้าไปที่จานเบรก ทำให้เกิดแรงเสียดทานขึ้น ช่วยให้รถชะลอความเร็วลงและหยุดรถได้อย่างปลอดภัย
- ดรัมเบรก คือ ระบบเบรกแบบปิดที่ใช้ในรถยนต์หรือรถอื่น ๆ ช่วงแรกเริ่ม ซึ่งปัจจุบันยังพบเห็นได้ในรถยนต์ และรถบรรทุก ดรัมเบรกประกอบด้วย ผ้าเบรกทรงโค้ง, ก้ามปูเบรก หรือ ฝักเบรก, สปริง และลูกสูบที่ต่อเข้ากับสายเบรก ส่วนการทำงานของดรัมเบรกนั้น ในทุกครั้งที่เราแตะเบรก ผ้าเบรกด้านในจะถูกแม่ปั๊มดันให้ไปติดกับด้านในของฝาครอบเบรก ซึ่งฝาครอบเบรกนี้จะยืดติดอยู่กับล้อรถ ทำให้เกิดแรงเฉื่อยช่วยชะลอความเร็ว และหยุดรถได้ในที่สุด
ไขปัญหาคาใจ เปลี่ยนผ้าเบรคแล้วควรเจียรจานเบรคหรือไม่?
ผ้าเบรคและจานเบรคนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคู่กัน โดยปกติแล้วเวลาที่เปลี่ยนผ้าเบรคช่างมักจะแนะนำให้เจียรจานเบรคอยู่เสมอ โดยให้เหตุผลว่าไม่อย่างนั้นเบรคจะเสียงดังนะ จับถนนไม่อยู่นะ ฯลฯ จึงทำให้หลาย ๆ คนจึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า? หรือช่างแค่พูดเพื่ออยากให้เราจ่ายเงินเพื่อใช้บริการเพิ่มเท่านั้น และจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเจียรจานเบรค? เงินติดล้อจะช่วยตอบคำถามนี้ให้กับคุณเอง โดยการตัดสินใจว่าจะเจียรหรือไม่เจียรนั้น สามารถสังเกตุได้จากการเหยียบเบรค ถ้าหากจานเบรคมีปัญหาคดงออย่างที่ช่างว่ามาจริง ๆ ขณะทำการเบรครถของคุณจะมีการสั่น ถ้าหากสั่นรุนแรงมาจนถึงพวงมาลัยจึงควรที่จะทำการเจียร แต่ถ้าหากว่าอาการยังไม่รุนแรงถึงขั้นนั้น เงินติดล้อก็แนะนำว่าอย่าเพิ่งเจียรจะดีกว่า เพราะถ้าหากเจียรจานเบรคบ่อย ๆ เข้าจะยิ่งทำให้จานเบรคบาง และเกิดการคดงอได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
ผ้าเบรกมีกี่แบบ
ผ้าเบรกรถยนต์ในปัจจุบันที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่วัสดุที่นำมาผลิต ซึ่งก็จะส่งผลถึงอายุการใช้งานของผ้าเบรกด้วยเช่นกัน เราจึงควรเลือกชนิดของผ้าเบรกให้เหมาะสมกับรถและสไตล์การขับขี่ เพื่อการใช้งานผ้าเบรกได้เต็มประสิทธิภาพ โดยผ้าเบรกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1.ผ้าเบรกออร์แกนิก คือผ้าเบรกที่ผลิตด้วยเส้นใยที่ไม่ได้ทำจากโลหะ แต่จะทำจากใยแก้ว, ยาง และไฟเบอร์ เป็นส่วนประกอบหลัก นั่นจึงทำให้ผ้าเบรกชนิดนี้จะมีความนุ่ม เงียบ และไม่มีเสียงดังเวลาเหยียบเบรก แต่ผ้าเบรกชนิดนี้ จะเหมาะกับการขับขี่รถยนต์แบบใช้ความเร็วไม่มากนัก ขับขี่ทั่วไปในเมือง อาจไม่เหมาะกับผู้ที่ใช้ความเร็วเท่าไร และที่สำคัญแม้จะมีราคาที่ถูกแต่ผ้าเบรกออร์แกนิกนี้ก็จะหมดเร็วกว่าผ้าเบรกชนิดอื่นเช่นกัน
2. ผ้าเบรกเมทัลลิก คือผ้าเบรกที่ทนทานมากที่สุด เพราะผลิตจากโลหะที่ทนต่ออุณหภูมิที่สูงหรือแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี และมีอายุการใช้งานได้เป็นเวลานาน นั่นจึงทำให้ผ้าเบรกชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ผ้าเบรกเมทัลลิกนี้เมื่อใช้ไปสักระยะนึงก็จะมีเสียงดังรบกวนเช่นกัน และอาจทำให้จานเบรกสึกหรอก่อนเวลาอันควรได้
3. ผ้าเบรกเซมิเมทัลลิก คือผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของโลหะที่มากถึง 65% ถือเป็นผ้าเบรกที่ได้รับความนิยมและพบเห็นได้มากที่สุดในยุคปัจจุบัน ผ้าเบรกเซมิเมทัลลิกมีความทนทานที่สูงและมีระยะเวลาใช้งานที่ยาวนาน ผ้าเบรกชนิดนี้เหมาะกับผู้ที่ชอบการขับขี่รถด้วยความเร็วสูง และต้องการที่จะหยุดรถด้วยความรวดเร็วเช่นเดียวกัน
4. ผ้าเบรกเซรามิก คือผ้าเบรกที่ได้ชื่อว่าทนทานมากที่สุดจากชนิดของผ้าเบรกที่กล่าวมาทั้งหมด ตัวผ้าเบรกทำจากวัสดุเซรามิกผสมเส้นใยทองแดง ข้อดีของผ้าเบรกชนิดนี้นอกจากความทนทานที่สูงกว่าผ้าเบรกชนิดอื่นแล้ว ยังให้ความเงียบ และไม่มีฝุ่นดำ แต่ก็มีข้อเสียอยู่ที่ราคาค่อนข้างสูง และตัวเนื้อผ้าเบรกนั้นไม่ดูดซับความร้อนอาจทำให้จานเบรกเกิดความร้อนสูงได้
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าผ้าเบรคหมด ?
เมื่อผ้า เบรกหมด รถจะแสดงอาการ “ผิดปกติ” ออกมาทันที ให้ลองสังเกตตามอาการเหล่านี้
- เบรคดังเอี๊ยดอ๊าด เมื่อเหยียบเบรคแล้วเกิดเสียงดังเอี๊ยดอ๊าด เป็นเสียงเหมือนโลหะเสียดสีกันมาจากล้อใดล้อหนึ่งของรถ นั่นเป็นเพราะผ้าเบรคหมดจนโลหะไปเสียดสีกับจานเบรค วิธีแก่ไขคือนำรถเข้าอู่เพื่อให้ช่างเปลี่ยนผ้าเบรคให้ใหม่ ผ้าเบรคเสื่อมสภาพอายุ ผ้า เบรค รถยนต์ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
- เบรคจม คนที่ใช้รถบ่อย ๆ จะรู้ว่าระยะเบรคของตนอยู่ประมาณไหนก็มักจะออกแรงเบรคที่เท้าไปตามความเคยชิน หากวันใดวันหนึ่งเหยียบเบรคแล้วรู้สึกว่ามันจมมันลึกกว่าที่เคย เป็นไปได้ผ้าเบรคอาจจะหมดหรือเสื่อมสภาพลง ให้นำเข้าอู่เพื่อให้ช่างตรวจสอบและเปลี่ยนใหม่ให้เร็วที่สุด
- เบรคดังจี๊ด ๆ อีกอาการหนึ่งที่บ่งบอกว่าผ้าเบรคหมด ก็คือเวลาใช้เบรคแล้วเกิดเสียงดังจี๊ด ๆ นั่นเป็นเพราะจานเบรคไปเสียดสีกับดรัมเบรคเนื่องจากไม่มีผ้าเบรคมากั้นแล้วนั่นเอง เพื่อความปลอดภัยในระหว่างใช้งาน ควรนำรถไปให้ช่างตรวจสอบและเปลี่ยนผ้าเบรคให้ใหม่
- ไฟเตือนเบรกมือในระหว่างที่กำลังใช้งาน หากบนหน้าจอเรือไมล์มีไฟเตือนเบรกมือสีแดงแสดงขึ้นมา สันนิษฐานได้ว่าผ้าเบรคอาจจะสึกหรอหรือหมด จนทำให้น้ำมันเบรคไหลออกจากกระปุกจนลดลงต่ำกว่าขีด MIN นั่นเอง วิธีแก้ไขคือนำไปให้ช่างเปลี่ยนผ้าเบรคให้ใหม่พร้อมสาเหตุอีกที
ผ้าเบรครถยนต์ความหนาที่เหมาะสมความหนาผ้าเบรคอยู่ที่ประมาณ 10 มม ผ้าเบรครถยนต์เป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนสำคัญของระบบเบรคที่ควรดูแลรักษา หากผ้าเบรคหมดแล้วยังละเลย ใช้งานรถต่อไป อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาจนเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่และสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ร่วมถนนคนอื่น ๆ ได้
วิธีดูแลผ้าเบรกเบื้องต้น
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถ
หากคุณต้องเปลี่ยนผ้าเบรกบ่อยๆ ให้คุณลองสังเกตดูว่า ปกติแล้วคุณขับรถยังไง? ขับเร็วหรือไม่ เหยียบเบรกกะทันหัน หรือเบรกรถแรงๆ รึเปล่า?
ซึ่งถ้าหากมีพฤติกรรมเป็นแบบนั้นก็จะทำให้ผ้าเบรกของรถคุณจะสึกเร็วกว่าปกติ ซึ่งวิธีการแรกที่จะช่วยถนอม และยืดอายุการใช้งานผ้าเบรกได้ ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถให้เบาลง
2. ดูแลยาง ก็เหมือนดูแลเบรก
สาเหตุที่บอกว่าดูแลยางเท่ากับดูแลเบรกก็เป็นเพราะว่า ยางรถที่สมบูรณ์และมีลมยางเพียงพอจะช่วยดูดซับแรงกระแทกเวลาเบรกและลดการ
เสียดสีของผ้าเบรกลงได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลรักษาผ้าเบรกทางอ้อมคุณจึงควรหมั่นเช็คลมยาง และดูแลรักษายางรถอยู่เสมอ
3. ตรวจเช็คระบบเบรกตามเวลากำหนด
เวลาขับรถเราใช้เบรกแทบจะตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อถึงระยะควรตรวจเช็กระบบเบรกเพื่อความปลอดภัย ตรวจเช็คเป็นประจำทุก 3 เดือน หรือเมื่อ
ขับรถได้ 8,000-10,000 กิโล และเราจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุกปี หรือเมื่อขับรถครบ 8,000-10,000 กิโล
4. ดูแลผ้าเบรกมากกว่าเดิม
ทุกครั้งเมื่อคุณเปลี่ยนผ้ามาเบรกใหม่ เพื่อการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ต้องดูแลและระมัดระวังกการขีบขี่และการเหยียบเบรกมากกว่าเดิม
เพราะผ้าเบรกใหม่จะมีระยะเวลา ที่เรียกว่า Bedding-in ซึ่งเป็นช่วงที่รถต้องปรับสภาพหน้าผ้าเบรกให้เข้ากับจานเบรก โดยจะต้องใช้ระยะทาง
ประมาณ 200-300 กิโลเมตร ก่อนที่ผ้าเบรกเข้าที่ ถ้าหากคุณเผลอเหยียบเบรกแรงๆ ในช่วง Bedding-in มันอาจจะส่งผลให้ผ้าเบรกและจานเบรก เสียหายได้ เพราะแบบนี้คุณจึงจำเป็นต้องระมัดระวังการเหยียบเบรกมากกว่าเดิมเมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกมาใหม่นั่นเอง
สรุป ผ้าเบรครถยนต์
ผ้าเบรคคือหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญต่อการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนนเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นควรหมั่นตรวจสอบผ้าเบรค และสังเกตอาการผิดปกติเหล่านี้ เพื่อที่จะได้ลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและคนรอบข้าง แต่อีกหนึ่งสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยในเรื่องของการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน นั่นก็คือ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์นั่นเอง เพื่อให้คุณไร้ความกังวลใจ ขับขี่ได้อย่างมั่นใจ เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงต้องหาหลักประกันไว้คุ้มครองยามเกิดเหตุร้าย เพราะค่าใช้จ่ายที่จะตามมาไม่ใช่เล่น ๆ ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้จะช่วยให้คุณอุ่นใจด้านค่าใช้จ่ายมากขึ้น