ร้านของเรา

จ.สมุทรสาคร

เปิดบริการ

วันจันทร์-เสาร์ 8:00 น. – 17:00 น.

ปั้มเบรค

ปั้มเบรค

การทำงานของแม่ปั๊มเบรค 2023

ปั้มเบรค วันนี้ลองมาดูการทำงานของระบบเบรคกัน โดยเฉพาะแม่ปั๊ม เบรคว่ามันทำงานยังไง ซึ่งก็เป็นหลักการง่ายๆไม่ได้ซับซ้อนอะไร ที่เขียนบทความนี้ก็ไม่ให้จะให้ข้อมูลวิชาการอะไรมากเท่าไหร่ แต่จะเอาแบบง่ายๆพอเข้าใจ เพื่อที่ว่าคนไม่มีความรู้เรื่องรถเลยอ่านแล้วพอจะเข้าใจได้บ้าง เผื่อเวลาเอารถไปซ่อมในเรื่องของเบรค จะได้พอนึกภาพออกเวลาที่ช่างอธิบายว่าจะทำอะไรกับรถของเราบ้างครับ ก่อนอื่นมาดูหน้าตาของแม่ปั๊ม เบรคกันก่อนว่าหน้าตาประมาณไหน ตามรูปเลยครับ มีกระป๋องน้ำมันเบรคอยู่ด้านบนส่วนด้านล่างเป็นโลหะสีขาวๆเป็นชุดไฮโดรลิคที่เรียกว่าชุดแม่ปั๊ม เบรค เป็นชุดไฮโครลิคที่ถูกนำมาใช้กับรถยนต์ ที่เห็นได้ชัดๆก็คือเบรค เพราะเบรคทุกคนต้องรู้จักแน่นอนทุกคนที่ขับรถเป็นต้องเคยใช้แน่นอน นั้นเพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชลอความเร็วหรือหยุดรถของเรานั่นเอง ส่วนหน้าตาและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบเป็นระบบเบรคนั้น มีหน้าตาอย่างไรและมันอยู่ตรงไหนเราลองมาดูกันครับ

อาการที่บ่งบอกว่าแม่ปั๊มเบรกกำลังมีปัญหา

แม่ปั๊มเบรกได้รับการออกแบบมาให้มีความทนทาน หากแม่ปั๊มเบรกประสบปัญหาจากการรั่วไหลหรือความล้มเหลวทางกลไกอื่นๆ ผู้ขับขี่สามารถสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าแม่ปั๊มเบรกกำลังมีปัญหา ได้ดังต่อไปนี้

• แป้นเบรกมีความผิดปกติ เช่น แป้นเบรกนิ่ม ยวบ หรือจมลงกับพื้น ซึ่งเป็นอาการที่อาจบ่งบอกว่าแม่ปั๊มเบรกมีรอยรั่วหรือปิดไม่สนิท

• น้ำมันเบรกสกปรก หากน้ำมันเบรกมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ อาจบ่งบอกว่าซีลยางของแม่ปั๊มเบรกแตกและทำให้ของเหลวปนเปื้อน

• มีการรั่วไหลของน้ำมันเบรก ซีลในแม่ปั๊มเบรกหมดสภาพ อาจทำให้น้ำมันเบรกรั่วไหลหยดลงบนพื้นใต้รถของคุณ

• มีไฟเครื่องยนต์แจ้งเตือนบนหน้าปัดรถยนต์ หากรถของคุณติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ตรวจจับ เมื่อระบบเบรกสูญเสียแรงดันเนื่องจากแม่ปั๊มเบรกทำงานผิดปกติจะมีไฟตรวจสอบเครื่องยนต์โชว์ขึ้น

เบรก (Brake) ทำหน้าที่ชะลอความเร็วของรถ

เบรก (Brake) ทำหน้าที่ชะลอความเร็วของรถ หรือทำให้รถหยุด ตามความต้องการของผู้ขับขี่ รถส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ใช้การถ่ายทอดแรงเหยียบ ที่แป้นเบรค ไปถึงตัวอุปกรณ์หยุดล้อ ด้วยระบบไฮดรอลิกซ์ (Hydraulic) กล่าวคือ ในขณะที่เราเหยียบเบรคลงที่แป้นเบรค แรงเหยียบนี้ จะถูกส่งไปที่แม่ปั้มน้ำมันเบรค (Master Cylinder) เพื่อทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรค ออกไปตามท่อน้ำมันเบรค ผ่านวาล์วแยก ส่วนน้ำมันเบรค ไปจนถึงตัวเบรค ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณดุมล้อ และที่ตัวเบรค ก็จะมีลูกปั้มน้ำมันเบรค เมื่อได้รับแรงดันมา ลูกปั้มน้ำมันเบรคจะดันให้ผ้าเบรค ไปเสียดทานกับชุดจานเบรคที่อยู่ใกล้ กับจานดิสก์เบรค หรือ ดรัมเบรค เมื่อเกิดความฝืดขึ้น ล้อก็เริ่มหมุนช้าลง เมื่อเพิ่มน้ำหนัก เหยียบเบรคเข้าไปอีก แรงดันน้ำมันเบรคเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งมีความฝืดที่ล้อเพิ่มขึ้น รถก็จะชลอความเร็วลง จนรถหยุดในที่สุด

วิธีการเลือกปั้ม เบรค ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การเลือกปั้มเบรคให้เหมาะสมกับการใช้งานควรจะต้องดูที่น้ำหนักของรถมอเตอร์ไซค์ ความเร็วที่ใช้ในการขับขี่ให้สัมพันธ์กับขนาดของ ปั้ม เบรค ด้วยซึ่งจะมี ส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้ครับ

1. ปั้มบน ต้องให้สัมพันธ์กับขนาดของปั้มล่าง ถ้าปั้มล่างขนาดใหญ่ 4 Pot (คือขนาดลูกสูบ) หากมีการใช้ปั้มบนเดิม หรือปั้มที่แรงดันไม่พอ ผลที่ได้คือ ใช้ได้ แต่นิ่ม บีบแล้วความยุบจะเยอะเพราะแรงดันไม่แรงพอ หรืออาจจะขึ้นขั้นเบรคไม่อยู่ ดังนั้นต้องตรวจเช็คให้ดีก่อนใช้

2. ปั้มดิสล่าง ควรจะต้องให้มีความสัมพันธ์กับขนาดของรถมอเตอร์ไซค์ และน้ำหนักของรถมอเตอร์ไซค์ เพราะถ้ารถที่มีขนาดเล็กจะเบา หากไปใช้ปั้มตัวใหญ่มากกว่า 4 pot ขึ้นไปมากกว่า หรือพวกเรเดียลเม้าท์ ผลที่ได้คือ มีสวยงามกว่าของเดิมแน่นอน แต่ถ้ามันไม่สัมพันธ์กันจะทำให้เกิดอาการล้อล็อค เพราะแรงจับจานเบรคมีเยอะเกิน + รถน้ำหนักเบา อาจเกิดอาการ ล้อหน้าล็อค และปัดหรือถ้าข้อมือแข็งๆ ก็กลายเป็นอาการ หัวทิ่มแทน ดังนั้นต้องเลือกขนาดปั๊มล่างที่เหมาะกับ น้ำหนักรถเพื่อความปลอดภัย

3. เรื่องผ้าเบรค คำถามที่ว่า ผ้าเดิมกับ ผ้าแบรด์ต่างกันอย่างไร อธิบายได้อย่างนี้ ผ้าเบรคแต่ละค่ายจะมีสูตรของส่วนผสมที่เป็นสูตรทางการค้าของแต่ละรายแบรนด์ต่างๆ รวมถึงของเดิม ก็มีซัพพลายซึ่งเป็นผู้ผลิตผ้าเบรคส่งป้อนเข้าโรงงานประกอบรถต่างๆ

ชนิดของเบรค- ดรัมเบรค (Drum Brake)- ดิสก์เบรค (Disc Brake)

ในชุดเบรคแบบดรัม ประกอบด้วยตัวดรัม (Drum) เป็นโลหะวงกลมยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรค ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับตั้งเบรค สปริงดึงกลับ และลูกสูบปั้มเบรค ซึ่งสายน้ำมันเบรค ก็จะมาเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบนี่แหละ ในการดันผ้าเบรคให้ไปเสียดทานกับดรัม เพื่อให้เกิดความฝืด

  1. ดิสก์เบรค (Disc Brake) ชุดดิสก์เบรค ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ ติดตั้งลงบนแกนเพลาล้อ เมื่อรถเคลื่อนที่ แผ่นจานดิสก์ จะหมุนไปพร้อมล้อ จากนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า คาลิปเปอร์ (Caliper) ที่เรียกกันทั่วไปว่า “ก้ามปูเบรค” สำหรับตัวคาลิปเปอร์ จะติดตั้งโดย ครอบลงไปบนจานดิสก์ (ไม่หมุนไปพร้อมล้อ) ภายในคาลิปเปอร์ มีการติดตั้งผ้าเบรคประกอบอยู่ทางด้านซ้าย และขวาของจานดิสก์ และจะมีลูกปั้มน้ำมันเบรคติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งท่อน้ำมันเบรค ก็จะติดตั้งเชื่อมต่อกับลูกปั้มเบรคนี้ เมื่อใดที่มีการเหยียบเบรค ลูกปั้มเบรค ก็จะดันให้ผ้าเบรค เลื่อนเข้าไปเสียดทาน กับเแผ่นจานดิสก์ เพื่อให้เกิดความฝืด
  2. ดรัมเบรค เป็นอุปกรณ์เบรคมาตรฐาน สำหรับรถยนต์ รุ่นเก่าหน่อย ต่อมาเมื่อมีการใช้ดิสก์เบรคกันมากขึ้น ก็จะเห็น ระบบดิสก์เบรคสำหรับล้อคู่หน้า และดรัมเบรคสำหรับล้อคู่หลัง และในปัจจุบัน ก็สามารถเห็นรถยนต์ที่ ติดตั้งดิสก์เบรคมาทั้ง 4 ล้อ แต่อย่างไรก็ตาม การจะใช้ระบบเบรคแบบดิสก์ หรือดรัมนั้น ขึ้นอยู่กับการ ออกแบบ ระบบของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นอยู่แล้ว เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดี
ผ้าเบรก Bendix

ผ้าเบรก Bendix เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีระบบเบรกมาอย่างยาวนาน Bendix มีผลิตภัณฑ์สำหรับงานระบบเบรก ผ้าเบรก Bendix ผลิตจากวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ผ้าเบรก Bendix ได้ผ่านการคิดค้นออกแบบมาสำหรับผู้ขับขี่ที่ต้องการความปลอดภัย ความมั่นใจในการขับขี่ ผ้าเบรก Bendix ยังให้ความนุ่มนวล กระชับที่แป้นเบรก เพื่อตอบสนองอีกขั้นของรูปแบบการขับขี่ได้อย่างหลากหลายรูปแบบการใช้งาน

• ผ้าเบรก Bendix มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผ้าเบรก Bendix สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ผ้าเบรก Bendix สำหรับรถยนต์โดยสาร ผ้าเบรก Bendix สำหรับรถปิคอัพทั่วไป คุณสามารถเลือกผ้าเบรก Bendix ให้เหมาะสมกับรูปแบบการขับขี่ของคุณได้ หรือเลือกผ้าเบรก Bendix ที่มีรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ

• ผ้าเบรก Bendix เป็นเบรกสั้นไม่ก่อให้เกิดสนิม ผู้ขับขี่มั่นใจในคุณภาพของผ้าเบรก Bendix ด้วยผ้าเบรก Bendix เป็นผ้าเบรกมาตรฐานการผลิตระดับโลก และผ้าเบรก Bendix มีความปลอดภัยสูงสุดในการเบรก

• ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรก Bendix ยังรองรับรถยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันที่ต้องการผ้าเบรกที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อการหยุดรถที่มีสมรรถนะเต็มเปี่ยม

• ผ้าเบรก Bendix ยังผลิตมาเพื่อรถบรรทุกเบาและรถบรรทุกหนักรวมไปถึงรถลาก ต่อพ่วงขนาดใหญ่ ผ้าเบรก Bendix จึงเหมาะสำหรับกับรถทุกรูปแบบ

• ผ้าเบรก Bendix มีประสิทธิภาพดี มีความทนทานสูง และผ้าเบรก Bendix ยังมีราคาที่คุ้มค่าอีกด้วย

สรุป ปั้มเบรค

ดังนั้นส่วนผสมที่ใช้ จึงไม่เหมือนกัน ส่วนผสมที่ว่า จะเป็นพวกสารที่สร้างแรงเสียดทาน เช่น เซรามิก ใยหิน คาร์บอน ฯลฯ พวกนี้จะเป็นผ้าเบรคที่มีเนื้อนิ่ม ข้อดีคือ เบรคนิ่ม หยุดง่าย เสียงไม่ดัง แต่ ยิ่งนิ่มเท่าไหร่ อัตราการสึกหรอของผ้าเบรคก็มากขึ้นหรือผ้าเบรคหมดเร็วนั่นเอง และข้อเสียอีกข้อคือ ผ้าเบรคชนิดที่ยิ่งมีความร้อนสะสมเยอะประสิทธิภาพในการเบรคยิ่งต่ำลง หรือยิ่งร้อนยิ่งลื่น นั้นเอง

ติดตามข่าวสาร หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

เรื่องน่ารู้อื่นๆ