ดิสเบรค กับ ดรัมเบรก แตกต่างกันอย่างไร
ดิสเบรค เป็นระบบเบรกที่มีมาทีหลังดรัมเบรก เบรกจะทำงานโดยดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรกเพื่อให้รถหยุด ซึ่งจะมีแบบดิสก์เบรก 4 ล้อ บางรุ่นก็เฉพาะล้อหน้า ข้อดี อากาศถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรก และถ้าเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะไล่น้ำออกจากระบบได้ดี ต่างจากดรัมเบรกน้ำจะขังอยู่ภายใน ดรัมเบรก ดรัมเบรกจะติดตั้งแน่นกับลูกล้อ เบรกจะทำงานเมื่อมีการถ่างก้ามเบรกให้เสียดสีกับตัวเบรก ดรัมเบรกจะทำให้ล้อหยุด ดรัมเบรกใช้มากในรถบรรทุก ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก รวมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลบางรุ่น รถบางรุ่นอาจใช้ระบบนี้เฉพาะล้อหลัง ข้อดี หยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรกและดรัมเบรกถูกยึดติดกับดุมล้อ เมื่อเหยียบเบรก คนขับใช้แรงกดดัน ข้อเสีย ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี ระหว่างผ้าเบรกในดรัมเบรกนั้นถ่ายเทความร้อนได้ยาก ในบางครั้งผ้าเบรกมีอุณหภูมิสูงมาก มีผลทำให้ประสิทธิภาพการเบรกด้อยลง
อาการผ้าเบรกใกล้หมดสังเกตยังไง
เสียงดังเหมือนเหล็กสีกัน เป็นเมื่อตอนเหยียบเบรก ถือเป็นสัญญานบอกว่าผ้าเบรกได้บางจนถึงตัวเตือน ซึ่งถ้าผ้าเบรกบางน้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร แผ่นเหล็กตัวเตือนนี้จึงจะสีกับจานเบรก ทำให้ต้องรีบเปลี่ยนผ้าเบรกทันที ทางที่ดีควรมีการ ทุก ๆ 3 เดือนหรือประมาณ 5,000 กม.ควรมีการตรวจเช็คผ้าเบรกให้อยู่ในสภาพใช้งานอย่างไม่มีปัญหา สำหรับระบบดิสก์เบรกนั้นผ้าเบรกจะหมดเร็วกว่าแบบดรัมเบรกประมาณ 2 เท่าหรือว่ากันง่าย ๆ คือเปลี่ยนผ้าดิสก์เบรก 2 ครั้ง จึงเปลี่ยนดรัมเบรก 1 ครั้ง และ อีกส่วนหนึ่งคือพฤติกรรมการขับขี่ อัตตราความถี่ในการเหยียบเบรกของแต่ละบุคคล
ข้อดี-ข้อเสีย ของระบบ ดิสเบรค (Disc Brake)
ข้อดี
- ระบายความร้อน และระบายน้ำได้ดี
- สามารถตอบสนองต่อการหยุดรถได้ดี
- บำรุงรักษาง่าย
- มีความสวยงามและเท่กว่า ระบบดรัมเบรก ผู้ที่ชื่นชอบการแต่งรถมักเลือกใช้
ข้อเสีย
- กำลังในการหยุดรถน้อยกว่าระบบดรัมเบรก
- ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง
- ผ้าเบรกหมดไว จึงทำให้ต้องมีการเปลี่ยนผ้าเบรกบ่อย
- ใช้แรงเหยียบเบรคมากกว่าระบบดรัมเบรก แต่เราจะรู้สึกว่าออกแรงน้อย เพราะมีระบบช่วยผ่อนกำลัง คือ หม้อลมเบรค หรือ Power booster
ข้อดีของดิสก์เบรกเมื่อเทียบกับดรัมเบรก
- » จานเบรกเปิดไม่ปกปิด จึงระบายความร้อนได้ดีและสะอาด ดังนั้นประสิทธิภาพในเบรกจึงคงที่สม่ำเสมอเชื่อถือได้
- » ไม่มีการเสริมแรงเหมือนกับดรัมเบรกที่มีลักษณะการทำงาน ฝักเบรกนำจึงไม่มีความแตกต่างกำลังในการเบรกระหว่างเบรกด้านขวาและด้านซ้าย ดังนั้นรถจักรยานยนต์จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเบรกแล้ว ดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง
- » จานเบรกจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ระยะห่างระหว่างจานเบรกกับแผ่นผ้าเบรกก็จะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นคันเบรกและคันเหยียบเบรก จึงยังคงทำงานได้เป็นปกติ
- » เมื่อจานเบรกเปียกน้ำก็จะถูกเหวี่ยงออกในระยะเวลาอันสั้นด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์เนื่องจากมีข้อดีมากมายดิสก์เบรกจึงถูกเลือกใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบรกหน้า เพราะขณะทำการเบรกภาระแทบทั้งหมดจะไปกระทำที่ด้านหน้า ดังนั้นเบรกล้อหน้าจึงมีความสำคัญจำเป็นต้องใช้ดิสก์เบรกกับล้อหน้า ทั้งปั๊มและคันเบรกจะติดตั้งอยู่บนแฮนด์ด้านขวามือ นั่นคือการทำงานโดยเบรกมือด้วยการบีบคันเร่งเพื่อเพิ่มกำลังในการเบรก ปัจจุบันดิสก์เบรกนี้ นอกจากจะนำมาใช้กับล้อหน้าแล้ว จักรยานยนต์บางรุ่นยังนำมาใช้กับล้อหลังด้วยนั่นก็คือดิสก์เบรกทั้งล้อหน้าและล้อหลัง ตัวจานเบรกจะยึดติดกับดุมล้อหลัง ชุดคาลิปเปอร์จะมีตัวรองรับยึดอยู่ สำหรับล้อหลังเป็นเบรกเท้าทำงานด้วยการกดคันเหยียบเบรก
ดิสเบรก มี 3 ชนิดดังนี้
- » ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ (Fixed position disc brake) ดิสเบรกจะมีผ้าเบรกอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ภายในก้ามปู (คาลิปเปอร์) วางประกบกับจานเบรกเพื่อที่จะบีบจานเบรกตัวก้ามปูนั้นเป็นเพียงที่ยึดของลูกปั้มเท่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะเบรกทำงาน ดิสเบรกแบบนี้มีช่องทางเดินน้ำมันเบรกอยู่ภายในตัวก้ามปู หรืออาจมีท่อเชื่อมต่อระหว่างลูกปั้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละชนิด
- » ดิสเบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ (Swinging caliper disc brake) พบมากในรถยนต์ทั่วไป หลักการทำงานแตกต่างจากก้ามปูยึดอยู่กับที่ เบรกแบบนี้จะมีลูกปั้มหนึ่งตัวคอยดันผ้าเบรกแผ่นหนึ่ง ส่วนผ้าเบรกอีกแผ่นจะติดอยู่กับตัวก้ามปูเอง ซึ่งตัวก้ามปูนี้สามารถเคลื่อนไปมาได้ เมื่อเหยียบเบรกน้ำมันเบรกจะดันลูกปั้มออกไป ผ้าเบรกแผ่นที่ติดอยู่กับลูกปั้มจะเข้าไปประกบกับจานเบรก ในขณะเดียวกันน้ำมันเบรก ก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั้ม ผ้าเบรกตัวที่ติดกับก้ามปูก็จะเข้าประกบกับจานเบรกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก
- » ดิสเบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (Sliding Caliper disc brake) หลักการแบบเดียวกับดิสเบรกแบบแผ่น แต่ใช้ลูกปั้มสองตัว ตัวแรกเป็นตัวดันผ้าเบรกโดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปูซึ่งมีผ้าเบรกติดอยู่ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกปั้มตัวแรก แผ่นผ้าเบรกทั้งสองจะเข้าประกบกับจานเบรกทั้งสองด้านพร้อมๆ กัน
เกร็ดความรู้เรื่องรถยนต์ วันนี้เราจะมาพูดกันถึงระบบเบรคครับ เป็นระบบความปลอดภัยขั้นแรกสุดของรถยนต์ ที่ต้องระดมมันสมองจากวิศวกรชั้นนำของแต่ละค่าย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด ในยุคแรกเกิดมาเป็นชุดเบรคแบบดรัมเบรค (Drum Brake) ต่อมาหลายสิบปียังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต่อมาจึงเกิดระบบเบรคแบบดิสค์เบรค (Disc Brake) ตามมาทีหลังซึ่งได้รับความนิยมกว่า แต่ก็ใช่ว่าระบบเบรคแบบ Drum ก็ใช่ว่าจะหายไปจากโลกเลยซะทีเดียว เพราะมันยังคงเป็นการทำงานที่เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพสูง ทำให้ในรถยนต์บางรุ่นก็ยังคงต้องใช้ Drum Brake ให้เห็นกันอยู่ แล้วมันต่างกันอย่างไรบ้าง สำหรับวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาชมทั้งข้อดี และข้อเสียของระบบเบรคทั้งคู่กันครับ
Drum Brake
ระบบห้ามล้อ ชะลอความเร็วแบบแรกที่เกิดขึ้นมานั้น อาศัยหลักการของแรง “ผลัก” เพื่อสร้างแรงเฉี่อยให้กับล้อรถยนต์ ซึ่งการทำงานของมันนั้น ตัวดรัมที่ยึดติดอยู่กับล้อ ภายในจะมีส่วนประกอบต่างๆ ที่ช่วยในการสร้างแรงเฉี่อย ไม่ว่าจะเป็น ฝักเบรคที่ประกอบด้วยผ้าเบรค สปริง และลูกสูบ โดยที่ถูกต่อเข้ากับสายเบรค เมื่อมีการกดแป้นกลไก น้ำมันเบรคจะถูกแรงผลักลูกสูบไปดันฝักเบรคออก เสียดสีกับขอบดรัมที่หมุนไปพร้อมล้อ เพื่อสร้างแรงเฉี่อยให้กับรถ สำหรับระบบเบรคทั้ง 2 รูปแบบ หากพูดกันโดยรวมแล้ว ดูเหมือนว่าเบรคระบบดิสจะเป็นที่ได้เปรียบอยู่ไม่น้อย ดูจากรูปทรงที่สวยงาม รวมไปถึงประสิทธิภาพที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าระบบดรัมเลย ทำให้ดิสค์เบรคกลายมาเป็นระบบเบรคยอดนิยมในปัจจุบันไปแล้วนั่นเอง สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอยากจะอัพเกรดระบบเบรค ผมก็ถือว่าเป็นอะไรที่น่าลงทุนไม่น้อย เพราะได้ทั้งประสิทธิภาพที่เพิ่มเข้ามา รวมไปถึงความสวยงาม ที่ดรัมเบรคไม่สามารถให้ได้ ส่วนจะอัพเกรดเป็นแบบใด ติดตามความรู้เรื่องรถเกี่ยวกับดิสค์เบรคได้อีกที่บทความนี้ จานเบรครถยนต์ มีกี่แบบ และควรเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน
ส่วนประกอบหลักของ ดิสก์เบรครถยนต์
- คาลิปเปอร์ (Caliper)
- ลูกสูบ (Piston)
- ผ้าเบรค (Brake Pads)
- สลักเบรค (Slide Pin)
- จานเบรค (Rotor)
ผ้าเบรค ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ ?
ผ้าเบรค นั้น บอกก่อนครับว่า สามารถเปลี่ยนได้ในหลายกรณี มีดังต่อไปนี้เลย
- 1. เปลี่ยนเมื่อผ้าเบรคมีความหนาน้อยกว่า 4 มม. (30%) และก้ามเบรคมีผ้าเบรกน้อยกว่า 1 มม.
- 2. เปลี่ยนเมื่อผ้าเบรคมีคราบน้ำมัน หรือจาระบีมากผิดปกติ brake2
- 3. เปลี่ยนเมื่อเห็นรอยร้าวบนดิสก์เบรค หรือก้ามเบรก
- 4. เปลี่ยนเมื่อ ผ้าเบรค อยู่บนรถจนครบ 25,000 กม.
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการขับขี่ และการใช้งานเบรค ของเพื่อนๆ ด้วย หากบรรทุกของหนักและใช้ความเร็วสูง อายุผ้าเบรกอาจจะสั้นกว่าที่กำหนด
วิธีเช็คหากดิสเบรกเริ่มมีปัญหา
ความอันตรายสูงสุดที่เกิดขึ้นกับผู้ขับขี่ที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เลย คือ เรื่องไม่สามารถเบรกได้เวลาที่เหยียบเบรก สาเหตุหนึ่งเลยมาจากการที่ผู้ขับขี่นั้นมักจะละเลยต่อการตรวจเช็ค ซึ่งมาดูกันว่ามีวิธีใดบ้างที่บ่งบอกถึงว่าดิสเบรกนั้นเริ่มเสื่อมสภาพ หากเกิดสิ่งเหล่านี้แล้ว อย่าปล่อยทิ้งเอาไว้นาน
- 1. เบรกแล้วมีเสียงดัง
หากในขณะที่คุณกำลังเบรกมีเสียง “จี๊ดๆ” เสียงเหมือนเหล็กเสียดสีกัน นั่นแสดงว่าผ้าเบรกที่อยู่ภายในดิสเบรกของคุณเริ่มสึกหรอและใกล้จะหมดแล้ว หากเกิดอาการนี้แล้วควรรีบเปลี่ยนผ้าเบรกให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะทำให้เบรกของรถยนต์พังเสียก่อน - 2. ขณะที่เหยียบเบรกแล้วรถมีอาการส่าย
การที่รถยนต์ส่ายนั้นเกิดได้จากหลากหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากเกิดการส่ายของตัวรถยนต์ในขณะที่เบรกแล้วล่ะก็ นั่นแสดงให้เห็นว่า เบรกในรถยนต์ของคุณกำลังมีปัญหาเข้าให้แล้ว ทางออกที่ดีที่สุดคือการส่งไปให้ช่างตรวจสอบและแก้ปัญหา ก่อนที่รถของคุณจะเบรกไม่ได้เสียก่อน - 3. ขณะที่เหยียบเบรกมีอาการสั่นที่พวงมาลัย
หากคุณเหยียบเบรกเพื่อชะลอรถแล้วพบว่าพวงมาลัยมีอาการสั่น เหมือนรถไม่มีความมั่นคงและควบคุมไม่ได้ที่พวงมาลัย นอกจากเป็นปัญหาที่เบรกแล้ว อาจจะมีปัญหาจากที่อื่นร่วมด้วยก็เป็นได้ - 4. ต้องใช้แรงมากขึ้นในการเหยียบเบรก
อาการที่ต้องใช้แรงมากขึ้นในการเหยียบเบรกนั้น มักเรียกๆกันว่า “เบรกตื้อ” เป็นอาการที่ต้องเหยียบเบรกแรงขึ้น ซึ่งสาเหตุเกิดได้จากหลากหลายอย่างเป็นอย่างมาก ควรส่งให้ช่างที่ชำนาญตรวจสอบและแก้ไข
สรุป ดิสเบรค
ตรวจดูผ้าเบรกอยู่เสมอ อย่างที่ได้บอกไปข้างต้นแล้วว่า “ผ้าเบรกนั้นเป็นส่วนประกอบหนึ่งภายในดิสเบรก” ที่มีหน้าที่ในการหนีบจานเบรกและชะลอรถ ดังนั้นการตรวจดูผ้าเบรกไม่ให้สึกหรอจนเกินไป (ไม่น้อยกว่า 7 มิลลิเมตร) หรือควรเปลี่ยนทุกๆการขับขี่ไปแล้ว 30,000 – 40,000 กิโลเมตร เปลี่ยนน้ำมันเบรก หลายๆท่านอาจจะไม่ทราบเบรกนั้นมีน้ำมันด้วยเหรอ จริงๆแล้วน้ำมันเบรกนั้น คือ สารผสมที่มีหน้าที่ดูดซับความชื้นภายในเบรกนั่นเอง ซึ่งน้ำมันเบรกนั้นควรเปลี่ยนตามที่กำหนดเอาไว้ ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร หรือปีละ 1 ครั้ง และควรใช้น้ำมันที่เป็นเกรดเดียวกันกับของเดิมที่ใช้อยู่