ร้านของเรา

จ.สมุทรสาคร

เปิดบริการ

วันจันทร์-เสาร์ 8:00 น. – 17:00 น.

จานเบรค

จานเบรค

จานเบรค รถยนต์ มีกี่แบบอะไรบ้าง

จานเบรค แบบเรียบที่ผลิตมาจากการนำเหล็กมาหล่อให้มีลักษณะเป็นจานเบรกมีผิวหน้าเรียบปกติ มักพบเห็นได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่มาจากโรงงานกับรถยนต์รุ่นทั่วไป หากเปลี่ยนจานเบรกแล้วเลือกใช้จานเบรกลักษณะนี้ข้อดีหนึ่งคือจากลักษณะของผิวหน้าจานเบรกที่รียบจึงทำให้มีอายุการใช้งานทั้งตัวจานเบรกและผ้าเบรกนานกว่าจานเบรกแบบอื่น รวมทั้งยังเงียบและไม่ทำให้เกิดฝุ่นจากการเบรกมากเมื่อเทียบกับจานเบรกแบบอื่น ดังนั้นจานเบรกแบบเรียบตันจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่มองหาจานเบรกแทนของเดิมที่มีลักษณะเหมือนกับจานเบรกที่ติดรถมาจากโรงงานสำหรับการขับรถทั่วไปในแต่ละวัน หรือหากพอใจกับประสิทธิภาพการเบรกจากจานเบรกแบบเรียบที่มากับรถอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกใช้จานเบรกแบบอื่น

เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยน “จานเบรก” เลือกแบบไหนดี??

วันนี้ผมจะพาไปรู้จักกับจานเบรก หรือ Rotor ว่ามีหน้าที่อะไรในระบบเบรก แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีจุดเด่นอย่างไร ที่สำคัญเลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งานของเรากันครับ สำหรับจานเบรกในปัจจุบันก็มีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งก่อนที่เราจะเลือกซื้อจานเบรกใหม่ก็ต้องรู้ถึงคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของจานเบรกแต่ละประเภทกันก่อน หน้าที่ของจานเบรก (Disc Brake Rotor) จานเบรก เป็นจานโลหะทรงกลมเชื่อมต่อกับล้อ มีหน้าที่หลักในการชะลอการหมุนของล้อรถโดยใช้แรงเสียดทาน ซึ่งจะมีคาลิปเปอร์และผ้าเบรกเป็นส่วนหลักที่ทำงานพร้อมกันกับจานเบรกเพื่อช่วยกันห้ามล้อในชะลอลง

แบบไหนเหมาะสำหรับรถชนิดใดครับ

  • – แบบเรียบ (Smooth Brake Rotor) ใช้ได้กับรถทั่วไปครับ
  • – จานเบรกแบบเจาะรู (Drill Brake Rotor) เหมาะกับรถที่ต้องการประสิทธิภาพในการเบรกมากยิ่งขึ้น
  • – จานเบรกแบบเซาะร่อง (Slotted Brake Rotor) เหาะกับรถที่ใช้ความเร็วสูง เช่น รถซุปเปอร์คาร์ รถแข่ง
  • – จานเบรกแบบเซาะร่องและเจาะรู (Drilled and Slotted Brake Rotors) มักใช้สำหรับรถแต่งโชว์หรือใช้งานเบาๆ มากกว่ารถที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน

หม้อลมเบรกสิ่งที่เรามักลืม

หม้อลมเบรกมีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรกทำงานด้วยระบบสุญญากาศ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะดูดเอาอากาศเพื่อใช้ในการจุดระเบิดผ่านท่อไอดีและท่อที่เชื่อมต่อไปยังหม้อมลมเบรกด้วย ส่งผลทำให้ภายในหม้อลมมีสภาวะเป็นสูญญากาศ ซึ่งเป็นตัวช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรกของเราให้นุ่มนวล และถ้าหม้อลมเบรกเกิดการชำรุดความนุ่มนวลของเบรกจะหายไปจะเกิดความกระด้างมากขึ้น ส่งผลให้ระบบเบรกทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ

การตรวจเช็คหม้อลมเบรก

เหยียบเบรกให้สุดแล้วปล่อย 5-6 ครั้ง แป้นเบรกจะแข็งดันเท้าขึ้นมา จากนั้นให้เหยียบเบรกค้างเอาไว้แล้วสตาร์เครื่องยนต์ถ้าแป้นเบรกต่ำลงตามแรงเยียบเบรกที่ค้างไว้ แสดงว่าหม้อลมเบรกยังเป็นปกติ แต่ถ้าแป้นเบรกไม่ต่ำลงหรือสูงขึ้น แสดงว่าผิดปกติ ควรรีบนำเข้าแก้ไขโดยด่วน

การดูแลรักษาระบบเบรก

เริ่มต้น คือ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องปีละครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเบรกเกิดสนิม ควรใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรก DOT อื่นมาผสมได้ หรือนำน้ำมันอื่นมาเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรกเกิดอาการบวมได้ เช็คระยะห่างผ้าเบรกในระบบดรั้มเบรก ระยะห่างระหว่างผ้าและจานเบรกที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรก จะต่ำลง และการดึง เบรกมือที่สูงขึ้น ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรกถ้าต่ำลงถอดจานเบรกออกมาทำความสะอาดและปัดฝุ่น จากนั้นจึงจัดตั้งให้ระยะผ้าเบรกให้ชิดขึ้น การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรกควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อมอย่างน้อย 2-4 ปีต่อครั้ง เช่น ลูกยางแม่ปั้มเบรก ลูกยางลูกสูบเบรก และยางกันฝุ่น ส่วนรถที่ถูกนำไปลุยน้ำมาต้องรีบตรวจสอบทันที

ส่วนประกอบของเบรค

ส่วนประกอบของระบบเบรค

1. แป้นเบรก (Brake Pedal) หรือขาเบรก เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่ในรถ ทำหน้าที่คล้ายคานกด รับแรงกดมาจากขา (เท้า) ของผู้ขับขี่ เมื่อเหยียบเบรก ขาเบรกก็จะไปกดสากเบรก ที่สามารถปรับตั้งให้เบรกสูง หรือต่ำได้ ให้เข้าไปกดชุดดันในหม้อลมเบรก

2. หม้อลมเบรก ( Booster) เป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มแรงกด ให้กับขาของเราให้มีแรงกดมากขึ้น ออกแรงเหยียบน้อยลง โดยภายในจะเป็นชุดสุญญากาศ ต่อแรงลมดูดมาจาก เช่นในรถเครื่องยนต์ เบนซิล จะต่อมาจากท่อร่วมไอดี หลังลิ้นปีผีเสื้อในบริเวณนี้ในรอบต่ำ ที่ลิ้นปีผีเสื้อยังเปิดไม่สุด แรงดูด ของลูกสูบ จะทำให้เกิดแรงดูดสุญญากาศสูงมาก แต่ในรอบเครื่องสูงๆแรงดูดจะน้อยลง หม้อลมนั้นจึงจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ เพื่อเก็บสะสมแรงดูดสุญญากาศไว้ให้มากๆ เพื่อไว้ใช้ในตอนเบรกที่รอบสูงๆ และการเบรกติดต่อกันหลายๆครั้ง ส่วนในเครื่องยนต์ดีเซลมักจะต่อมาจาก ปั้มสุญญากาศแบบอิสระ หรือต่อพ่วงจากปั้มลมหลังตูดไดชาร์จอีกที

3. วาล์วสุญญากาศ (Combo Vale) เป็นลักษณะ One Way Vale ทำหน้าที่ให้ระบบสุญญากาศ เป็นไปในทิศทางเดียว คือให้มีแรงดูดจากหม้อลมเบรกไปยังเครื่อง หรือปั้มลม ป้องกันแรงดันสุญญากาศย้อนกลับ หรือรั่วไหลออกจากหม้อลม

4. แม่ปั้มเบรก (Master Cylinder) เป็นชุดสร้างแรงดันไฮโดริคให้กับน้ำมันเบรก ให้เกิดแรงดันสูง ภายในประกอบด้วยชุดลูกยางเบรกหลายตัว แต่ละตัวมีหน้าที่ส่งแรงดันของน้ำมันเบรก ไปในสาย หรือท่อน้ำมันเบรก แรงดันขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปั้ม ลูกสูบเบรก ขนาดของลูกยางเบรก และระยะของสากเบรกที่ติดกับแป้นเบรกว่ามีอัตตราทดเท่าไร

5 น้ำมันเบรก (Brake Fluid) เป็นสารเหลวที่ใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลัง แบบไฮโดรลิคไปสู่ปั้มเบรค หรือคาริบเปอร์เบรก อีกทั้งยังเป็นสารหล่อลื่นให้กับลูกยางเบรก ลูกสูบเบรก คุณสมบัติของน้ำมันเบรกแบ่งตามคุณสมบัติการทนความร้อน หรือที่เรียกกันว่า DOT (Department of Transportation) โดย DOT3 จะทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 205 องศา DOT4 ทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 230 องศา และDOT5 สามารถทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 260 องศาเซลเซียส

6. ท่อน้ำมันเบรค และสายอ่อนเบรก (Brake Lines) อยู่ในระบบส่งแรงดัน ท่อน้ำมันหรือที่เรียกกันว่า แป๊ปเบรก เป็นท่อเหล็ก หรือทองแดงภายในกลวง เพื่อให้น้ำมันเบรกไหลผ่านด้วยแรงดันสูง

7. สายอ่อนเบรก (Brake Host) สายอ่อนเบรกทำมาจากท่อยางไฮโดรลิค หลายชั้นหุ้มด้วยยางกันการเสียดสี และกันความร้อน สามารถอ่อนตัวไปตามการหมุนของล้อ และการขยับของช่วงล่างได้อย่างคล่องตัว

8. ปั้มเบรก หรือคาริเปอร์เบรก (Caliper Brakes)
ถ้าเป็นระบบดิสเบรก จะเป็นลักษณะเหมือนปากคีบ หรือเรียกกันว่าก้ามปู ภายในบรรจุลูกสูบเบรก แบ่งตามจำนวนลูกสูบ เรียกว่า พอร์ท เช่น 1 พอร์ท หรือ 4 พอร์ท เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมัน เบรกด้วยลูกยางเบรก เป็นชีลกลมๆรอบๆลูกสูปเบรก ป้องกันฝุ่น และน้ำเข้าด้วยลูกยางกันฝุ่นอีกครั้ง
ในระบบดรั้มเบรก ปั้มเบรก จะเรียกกันว่ากระบอกเบรก เป็นลักษณะ เป็นแท่งกลวงยาว ภายในบรรจุลูกสูบเบรก เป็นแท่งกลมประกอบติดกับลูกยางเบรกทั้ง 2 ด้านต่อมาดันผ้าดรัมเบรกให้ขยับเข้าออกได้

9. จานเบรค แบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ
ระบบ ดรั้มเบรก (Drum Brakes) จานเบรก จะเป็นรูปถ้วย มีชุดแม่ปั้มเบรก และผ้าเบรก ประกอบอยู่ภายใน ผ้าดรัมเบรกจะเป็นลักษณะรูปเสี้ยวครึ่งวงกลม 2 ชิ้น ประกอบกับชุดสปริงดึงกลับ ชุดสายเบรคมือ และชุดตั้งระยะห่างของผ้าเบรก

การเบรกจึงมีประสิทธิภาพสูง

ข้อดี ผ้าเบรก และจานเบรก มีเนื้อที่สัมผัสกันมาก การเบรกจึงมีประสิทธิภาพสูง สิ้นเปลืองวัสดุน้อย ผ้าเบรกสึกช้ากว่าอายุการใช้งานยาวนาน หมดปัญหาเรื่องจานเบรกคด มีการระบายความร้อนที่ดี ลดอาการเบรกเฟดในการใช้งานเบรกติดต่อกัน และรุนแรง ระยะห่างผ้าเบรกมีการปรับตั้งได้เอง ตามความหนาของผ้า ทำให้ประสิทธิภาพดีเท่ากันในทุกล้อ ลดการสะสมตัวของฝุ่นเบรก

สรุป จานเบรค

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หลังจากที่รู้จักกับจานเบรกทั้ง 4 ประเภทแล้ว เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงสามารถเลือกจานเบรกที่เหมาะกับรถยนต์ของตัวเองได้ และสิ่งที่สำคัญนอกเหนือไปจากนี้คงหนีไม่พ้นระบบเบรกที่ติดมากับรถยนต์ที่มีการออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยสูงสุดและผ่านการทดสอบมาเป็นอย่างดี ซึ่งเราไม่ควรดัดแปลงหรือปรับขนาดระบบเบรกดังกล่าวเอง เช่น การขยายจานเบรกให้ใหญ่ขึ้น หรือการเปลี่ยนคาลิปเปอร์ เพราะอาจจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ ทั้งนี้ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญเท่านั้นนะครับ

ติดตามข่าวสาร หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

เรื่องน่ารู้อื่นๆ